ตรวจสุขภาพตาสำคัญอย่างไร? ดูแลดวงตาให้ดี เพื่อการมองเห็นที่ยั่งยืน
ตรวจสุขภาพตา เป็นการตรวจวินิจฉัยที่สำคัญในการรักษาสุขภาพของดวงตา และการมองเห็น โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินสภาพของตาของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะยาว การตรวจสุขภาพตานอกจากจะช่วยในการตรวจหาภาวะผิดปกติที่มักไม่แสดงอาการในช่วงแรก เช่น โรคต้อหิน หรือโรคทางจอประสาทตา ยังช่วยในการป้องกัน และรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับสายตาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ Dr.Ouise Eye Clinic จึงจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพตา ทั้งความสำคัญ และประเภท พร้อมแนะนำกลุ่มคนที่ควรเข้ารับการตรวจ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการดูแลดวงตาให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนสามารถรักษาการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืนยาว
ทำไมการตรวจสุขภาพตาจึงสำคัญ?
ทำไมการตรวจสุขภาพตาจึงสำคัญ เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำจะช่วยค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาได้ตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการรักษาคุณภาพด้านการมองเห็นที่ชัดเจนได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อผู้เข้ารับการตรวจดังต่อไปนี้
- ตรวจพบปัญหาทางสายตา : การตรวจสุขภาพตา จะช่วยทำให้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ทำให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถรักษาหรือปรับแก้ไขสายตาได้ทันเวลา
- ตรวจพบโรคทางตาได้เร็ว : การตรวจสุขภาพตาสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้ตรวจพบโรคทางตาได้ตั้งแต่ระยะแรกของโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคต้อกระจก โรคต้อหิน และโรคจอประสาทเสื่อม เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วโรคตาเหล่านี้มักจะไม่มีอาการที่เด่นชัดในช่วงแรกของโรค และกว่าจะรู้ตัว ความรุนแรงของโรคอาจทวีซึ่งยากต่อการรักษา
- ป้องกันการสูญเสียการมองเห็น : การตรวจสุขภาพตา สามารถค้นพบปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความผิดปกติที่เกิดจากโรคทางตา หากได้รับการวินิจฉัย และรับการรักษาจากจักษุแพทย์อย่างเหมาะสม จะช่วยรักษาสุขภาพตา และคงคุณภาพการมองเห็นที่ดีในระยะยาว
- สัญญาณเตือนของโรคทางร่างกาย : การตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียดสามารถค้นพบปัญหาสุขภาพร่างกายได้ เนื่องจากบางครั้งความผิดปกติด้านสายตา อาจเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของโรคทางกายที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งสามารถส่งผลให้มีการมองเห็นที่แย่ลงได้
ประเภทของการตรวจสุขภาพตา
ประเภทของการตรวจสุขภาพตา สามารถแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของการตรวจวัดดังต่อไปนี้
การตรวจวัดสายตา (Refraction test)
การตรวจวัดสายตา (Refraction test) เป็นการตรวจค่าสายตา โดยการใช้แผ่นทดสอบสายตา ที่มีตัวอักษรไล่ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ จำนวนทั้งหมด 8 แถว และเครื่องมือในการวัดสายตาอย่าง Phoropter โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยปรับเลนส์ให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการตรวจ โดยค่าสายตาที่แสดงผลหลังการทดสอบ จะบ่งบอกถึงปัญหาด้านสายตาของผู้เข้ารับการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือแม้กระทั่งปัญหาสายตาเอียง
การตรวจความดันลูกตา (Tonometry)
การตรวจความดันลูกตา (Tonometry) เป็นการตรวจวัดระดับความดันในลูกตา เพื่อประเมินความสมดุลในการสร้างของเหลว และการระบายของเหลวในลูกตา ซึ่งค่าที่แสดงผลหลังการวัดระดับความดัน สามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มหรือความเสี่ยงของการเกิดโรคทางตาได้ เช่น ระดับความดันในลูกตาสูงกว่า 21 มิลลิเมตร (ปรอท) อาจบ่งบอกถึงโรคต้อหิน เป็นต้น
การตรวจจอประสาทตา (Ophthalmoscopy)
การตรวจจอประสาทตา (Ophthalmoscopy) เป็นการตรวจเพื่อประเมินลักษณะการทำงาน และความผิดปกติของจอประสาทตา โดยเฉพาะบริเวณขั้วประสาทตา เส้นประสาทตา และจุดรับภาพ ซึ่งจะช่วยให้จักษุแพทย์สามารถตรวจพบโรคทางจอประสาทตา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม หรือโรคเบาหวานขึ้นตา ที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงได้
การตรวจลานสายตา (Visual field test)
การตรวจลานสายตา (Visual field test) เป็นการตรวจเพื่อวัดขอบเขตความกว้างของพื้นที่ในการมองเห็น ทั้งที่บริเวณด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน และด้านล่าง ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้นอกจากจะช่วยบ่งบอกถึงโรคทางตา อย่างเช่น โรคต้อหิน ยังบ่งบอกได้ถึงความเสี่ยงของโรคทางระบบประสาทและสาทได้ด้วยเช่นเดียวกัน
การตรวจสภาพกระจกตา (Slit-lamp examination)
การตรวจสภาพกระจกตา (Slit-lamp examination) เป็นการตรวจด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูลักษณะของดวงตาในส่วนต่าง ๆ เช่น บริเวณกระจกตา เยื่อบุตา ม่านตา รวมทั้งเลนส์ตา โดยจักษุแพทย์จะใช้ยาหยอดตาเพื่อทำการขยายม่านตา และตรวจดูลักษณะความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในดวงตา
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพตา? และบ่อยแค่ไหน ?
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพตา โดยปกติแล้วทุกเพศ ทุกวัย ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพดวงตาสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อการมองเห็นได้ โดยสามารถแบ่งช่วงวัยหลัก ๆ ที่ควรต้องเข้ารับการตรวจดังต่อไปนี้
เด็กเล็ก
เด็กเล็กหรือช่วงวัยตั้งแต่ 3 - 5 ปี ผู้ปกครองควรพาเด็กเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี รวมถึงควรตรวจก่อนเข้าโรงเรียน เพื่อการเตรียมความพร้อม และตรวจหาความผิดปกติที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการในการเรียนรู้ เช่น ภาวะตาเหล่ ภาวะตาขี้เกียจ และภาวะสายตายาวโดยกำเนิด เป็นต้น
ผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่หรือช่วงวัยทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้สายตาในการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ควรเข้ารับการตรวจต่อเนื่องทุกปี เพื่อคอยตรวจความเปลี่ยนแปลงของค่าสายตา และตรวจหาความเสี่ยงของการโรคทางตาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สายตาอย่างหนัก
ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุหรือช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจทุกปี เนื่องจากในช่วงอายุนี้ การทำงานหรือเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง และความสามารถในการมองเห็นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาที่มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ
การดูแลดวงตาให้ดี เพื่อการมองเห็นที่ยั่งยืน
การดูแลดวงตาให้ดี เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาการมองเห็นที่ชัดเจนได้อย่างยั่งยืน โดยมีวิธีการง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำตามได้ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ผักใบเขียว ปลาทะเลหรือปลาน้ำจืด และไข่ไก่ เป็นต้น
- ปกป้องดวงตาถูกทำร้าย ทั้งจากแสงแดดที่มีรังสียูวี และแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
- พักสายตาสม่ำเสมอ โดยสามารถใช้กฎ 20/20/20 คือใช้สายตา 20 นาที พักสายตา 20 วินาที และมองระยะไกล 20 ฟุต
- ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ เพื่อคอยอัปเดตการเปลี่ยนแปลง และตรวจหาความผิดปกติที่อาจกระทบต่อการมองเห็นได้อย่างทันท่วงที
คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพตา
การตรวจสุขภาพตาสามารถตรวจพบโรคทางร่างกายอื่น ๆ ได้หรือไม่?
การตรวจสุขภาพตาสามารถตรวจพบโรคทางร่างกายอื่น ๆ ได้ เนื่องจากบางครั้งความผิดปกติของการมองเห็น อาจเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคทางร่างกายได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ที่ส่งผลให้หลอดเลือดในตาเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือโรคหลอดเลือดสมอง ที่อาจส่งผลให้หลอดเลือดในตาเกิดการอุดตัน และได้รับความเสียหายได้
การใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อดวงตาอย่างไร? และมีวิธีป้องกันอย่างไร?
การใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการเพ่งเกร็งกล้ามเนื้อตา ส่งผลให้เกิดอาการตาล้า ตาแห้ง หรือรู้สึกปวดกระบอกตาได้ง่าย รวมทั้งถ้าหากปล่อยให้มีอาการตาแห้งบ่อย ๆ อาจทำให้กระจกตาเป็นแผล และเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เป็นอันตรายดวงตาได้
การทานอาหารเสริมบำรุงสายตาจำเป็นหรือไม่? และควรเลือกอาหารเสริมแบบไหน?
การทานอาหารเสริมบำรุงสายตา เป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดปัญหาสายตา เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคทางตา โดยสารอาหารที่จำเป็นต่อการบำรุงสายตามักมีส่วนประกอบของสารอนุมูลอิสระ เช่น
- วิตามินซี (Vitamin C) : ช่วยปกป้องเซลล์ดวงตาถูกทำร้ายจากปัจจัยต่าง ๆ
- วิตามินเอ (Vitamin A) : ช่วยปกป้องกระจกตาแห้ง
- วิตามินอี (Vitamin E) : ช่วยเสริมสร้างระบบประสาทให้แข็งแรง
- ลูทีน (Lutein) : ช่วยปกป้องจอประสาทตาจากแสงสีฟ้า
- กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acid) : ช่วยเสริมสร้างการทำงานของจอประสาทตา และสามารถบรรเทาอาการตาแห้งได้ เป็นต้น
สนใจตรวจสุขภาพตา? คลิกเพื่อจองนัดหมายออนไลน์
บทความโดย
หมออุ๊ย แพทย์หญิง วชิรา สนธิไชย
จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขปัญหาสายตาและเลนส์โปรเกรสซีฟ