ทดสอบวัดสายตาด้วยตนเอง วิธีง่าย ๆ ก่อนเข้าร้านแว่น
วัดสายตาหรือการตรวจสายตา เป็นหนึ่งในวิธีการดูแลดวงตา ที่จะช่วยทำให้เราทราบถึงประสิทธิภาพการมองเห็นของตัวเอง พร้อมทั้งสามารถตรวจพบความผิดปกติที่เกิดขึ้น และอาจส่งผลต่อคุณภาพในการมองเห็นที่ย่ำแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นภาวะสายตาสั้น สายตายาว และภาวะสายตาเอียง ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ Dr.Ouise Eye Clinic จึงจะทุกคนมารู้จักการทดสอบวัดสายตาด้วยตนเองอย่างถูกต้อง พร้อมวิธีสังเกตสัญญาณเตือนปัญหาด้านสายตา ที่บ่งบอกถึงความจำเป็นในการพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทุกคนสามารถดูแล และป้องกันดวงตาของตนเอง ให้มองเห็นโลกได้อย่างสดใสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทำไมการประเมินสายตาเบื้องต้นจึงจำเป็น?
ทำไมการประเมินสายตาเบื้องต้นจึงจำเป็น เพราะการตรวจวัดสายตาด้วยตนเอง จะช่วยให้เราสามารถสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง หรือคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสายตา และการมองเห็นได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ อีกทั้งยังมีความสำคัญในด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- ตรวจพบความผิดปกติได้รวดเร็ว : การประเมินสายตาด้วยตนเอง จะช่วยให้เราสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยงแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงตาได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของค่าสายตา ที่อาจทำให้การมองเห็นไม่ชัดเช่นเคย เป็นต้น
- รักษาการมองเห็นที่ดีในระยะยาว : การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสายตาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยคัดกรองปัญหาของสายตา และการมองเห็นที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมกับจักษุแพทย์ได้อย่างทันทีท่วงที
3 วิธีตรวจสังเกตความผิดปกติของสายตาด้วยตนเองที่บ้าน
3 วิธีตรวจสังเกตความผิดปกติของสายตาด้วยตนเองที่บ้าน สามารถทำได้ด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
วิธีที่ 1: การทดสอบตาแต่ละข้าง
วิธีแรก การทดสอบตาแต่ละข้าง สามารถทำได้จากการ
- ดาวน์โหลดหรือพรินต์ภาพแผ่นทดสอบสายตา (Snellen Chart) จากอินเทอร์เน็ต และติดตั้งบนผนังห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ ในตำแหน่งที่ตรงกับระดับสายตา โดยยืนห่างจากแผ่นทดสอบประมาณ 3-6 เมตร
- เริ่มทดสอบสายตา ด้วยการปิดตาข้างหนึ่ง และอ่านตัวอักษรจากแผ่นทดสอบสายตา (Snellen Chart) ให้ครบทั้ง 8 แถว โดยเรียงลำดับจากตัวอักษรขนาดใหญ่ ไปจนถึงตัวอักษรขนาดเล็ก
- ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง โดยสลับสายตาอีกข้าง
หากพบว่าไม่สามารถอ่านตัวอักษรได้ครบถึงบรรทัดที่มีการขีดเส้นไว้ หรือมีอาการมองเห็นตัวอักษรเลือนลาง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง และรับการวินิจฉัยถึงปัญหาด้านการมองเห็นโดยละเอียด
วิธีที่ 2: สังเกตจากกิจวัตรประจำวัน
วิธีที่ 2 สังเกตจากกิจวัตรประจำวัน เริ่มจากการมองดูสิ่งรอบ ๆ ตัวทั้งระยะใกล้และระยะไกล หากพบว่าภาพเหล่านั้นไม่ชัดเจนเท่าเมื่อก่อน ทั้งการเห็นเป็นภาพเบลอ ภาพซ้อน เห็นแสงแฟลชวาบในตา หรือบางครั้งอาจมีอาการเวียนหัว ปวดศีรษะ และตาล้าหลังจากใช้สายตาอย่างหนัก ควรรีบเข้ารับการปรึกษาจากจักษุแพทย์ และดำเนินการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
วิธีที่ 3: อาการแสงฟุ้งกระจายในเวลากลางคืน
วิธีที่ 3 อาการแสงฟุ้งกระจายในเวลากลางคืน โดยปกติแล้วเมื่ออยู่ในที่มืด รูม่านตาจะเกิดการขยายเพื่อให้แสงรอดผ่านเข้าสู่ดวงตา แต่หากสายตามีความผิดปกติ แสงจะเกิดการตกกระทบคลาดเคลื่อนไปจากตำแหน่งจอประสาทตา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มองเห็นแสงในลักษณะฟุ้งกระจาย
ข้อจำกัดของการประเมินสายตาด้วยตนเอง
ข้อจำกัดของการประเมินสายตาด้วยตนเอง แม้ว่าการตรวจวัดจะช่วยคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสายตาได้เบื้องต้น แต่อาจมีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นดังนี้
ความคลาดเคลื่อนในการวัดค่าสายตา
ความคลาดเคลื่อนในการวัดค่าสายตา การทดสอบด้วยตนเองให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำต่ำ เนื่องจากปัจจัยทั้งด้านสภาพแวดล้อมการของตรวจวัด อุปกรณ์และเครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ทดสอบที่อาจส่งผลให้การประเมินเกิดความคลาดเคลื่อน
การตรวจไม่พบภาวะทางสายตาบางประการ
การตรวจไม่พบภาวะทางสายตาบางประการ เป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นในการทดสอบด้วยตนเอง เนื่องจากบางครั้งอาจขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการตรวจวัดสายตา ซึ่งส่งผลทำให้ไม่สามารถประเมินปัญหาสายตาที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง รวมถึงไม่สามารถตรวจพบโรคทางตาที่อาจแทรกซ้อน เช่น โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และโรคทางจอประสาทตา เป็นต้น
ในขณะที่จักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถทำการประเมินอาการอย่างรอบคอบ พร้อมวินิจฉัยความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนการให้คำแนะนำสำหรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม
การตรวจวัดสายตาโดยผู้เชี่ยวชาญ แนวทางที่ดีที่สุด
การตรวจวัดสายตาโดยผู้เชี่ยวชาญ แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจสายตา เนื่องจากจักษุแพทย์ และนักทัศนมาตร จะมีความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง พร้อมด้วยประสบการณ์ และเครื่องมือการตรวจวัดสายตาที่ทันสมัย จะช่วยตรวจสอบปัญหาของสายตาได้โดยละเอียด และดำเนินการรักษาที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการแต่ละคนได้อย่างตรงจุด
สัญญาณที่บ่งบอกถึงความจำเป็นในการพบผู้เชี่ยวชาญ
สัญญาณที่บ่งบอกถึงความจำเป็นในการพบผู้เชี่ยวชาญ สามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้
- มองเห็นไม่ชัด หรือต้องหรี่ตาเพื่อเพ่งมอง ภาพจึงจะชัดเจนมากขึ้น
- รู้สึกตาล้าหรือปวดศีรษะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะหลังจากใช้สายตามาก เช่น หลังการอ่านหนังสือ และทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- ความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนลดน้อยลง ทั้งการเห็นแสงไฟฟุ้งกระจาย หรือมองป้ายถนนขณะขับรถไม่ชัดเจน
- มองเห็นแสงแฟลชหรือมีเงาดำลอยไปมาในตา ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่จอประสาทตา
- การมองเห็นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง เช่น สูญเสียการมองเห็นของดวงตาบางส่วน หรือเห็นภาพมีลักษณะบิดเบี้ยวแตกต่างไปจากเดิม อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคทางตาที่ร้ายแรง ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาในทันที
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
การทดสอบสายตาด้วยตนเองทดแทนการตรวจโดยจักษุแพทย์ได้หรือไม่?
การทดสอบสายตาด้วยตนเองทดแทนการตรวจโดยจักษุแพทย์ได้หรือไม่? คำตอบคือ การตรวจวัดสายตาด้วยตนเองไม่สามารถทดแทนการตรวจโดยจักษุแพทย์ได้ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจะมีความรู้เฉพาะด้าน พร้อมทั้งมีเครื่องมือที่ครบครันสำหรับการตรวจสายตา ทำให้การตรวจสายตาเป็นไปได้อย่างละเอียด แม่นยำ และประเมินสุขภาพตาได้อย่างประสิทธิภาพสูงสุด
ควรตรวจสายตาบ่อยแค่ไหน?
ควรตรวจสายตาบ่อยแค่ไหน? โดยทั่วไปแล้ว หากยังไม่มีความผิดปกติด้านสายตา ควรเข้ารับการตรวจทุก ๆ 1 ปี เพื่อทำการตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของสายตา และการมองเห็น สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ควรเข้ารับการตรวจทุกปี และผู้ที่มีอาการหรือมีสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงความผิดปกติด้านการมองเห็น ควรเข้ารับการตรวจโดยทันที เพื่อให้จักษุแพทย์ได้วินิจฉัย และดำเนินการรักษาอย่างเหมาะสม
หากวัดสายตาด้วยตนเองแล้วพบความผิดปกติ ควรทำอย่างไร?
หากวัดสายตาด้วยตนเองแล้วพบความผิดปกติ ควรรีบเข้าพบจักษุแพทย์โดยทันที เพื่อเข้ารับการตรวจสายตาอย่างละเอียด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะสามารถวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกติ และแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับปัญหาสายตาในแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม
นัดหมายตรวจสายตาที่ Dr.Ouise Eye Clinic วันนี้เพื่อสุขภาพตาที่ดี