แชร์

การตรวจวัดสายตาคืออะไร? และวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.พ. 2025
155 ผู้เข้าชม

การใช้สายตาอย่างหนัก การจดจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน มักจะส่งผลให้เกิดอาการตาล้าหรือเบลอเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อใดที่สังเกตได้ว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น รวมทั้งมีปัญหาด้านสายตาอื่น ๆ ร่วมด้วย คุณควรเข้ารับการตรวจสายตา  เพื่อให้จักษุแพทย์ทำการตรวจค่าสายตา ไม่ว่าจะเป็นค่าสายตาสั้น ยาว และเอียง รวมทั้งการตรวจหาโรคทางตาหรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจซุกซ่อนอยู่ โดยที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ดวงตามีปัญหาได้ในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสายตาของตัวเอง วันนี้ หมออุ๊ยจะพาไปรู้จักการตรวจวัดสายตา ทั้งประเภท พร้อมแนะนำว่าใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ ตลอดจนวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้าพบจักษุแพทย์

 

การตรวจสายตา คืออะไร?

การตรวจสายตา คือ กระบวนการตรวจประเมินด้านสุขภาพสายตาขั้นพื้นฐาน เพื่อวัดประสิทธิภาพการมองเห็น ทั้งปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง รวมถึงตรวจวัดภาวะมองเห็นไม่ชัดอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของโรคแทรกซ้อนทางตา เช่น โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น

การตรวจวัดค่าสายตามีกี่วิธี อะไรบ้าง?

การตรวจวัดค่าสายตา (Refraction) เป็นการวัดประเมินค่าสายตา ไม่ว่าจะเป็นภาวะสายตาสั้น ยาว และค่าสายตาเอียง โดยในปัจจุบันการตรวจวัดมี 2 วิธี ซึ่งประกอบด้วย

 

Objective Refraction

Objective Refraction เป็นการตรวจวัดค่าสายตา โดยใช้เครื่องมือในการประเมิน

 

  • Auto Refractor :เครื่องคำนวนค่าสายตา ทั้งสายตาสั้น ยาว และเอียง โดยจะประเมินผลออกมาในรูปแบบของตัวเลข ที่ช่วยให้การตรวจวัดสายตามีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  • Retinoscopy : เครื่องวัดค่าสายตา โดยการประเมินจากการสะท้อนของแสง ซึ่งใช้วิธีการส่องไฟเข้าสู่รูม่านตา เพื่อสังเกตลักษณะของแสงที่สะท้อน อาทิเช่น หากมีภาวะสายตาสั้นจะมีลักษณะแสงวิ่งทวน และสายตายาวจะมีลักษณะแสงวิ่งตาม รวมทั้งหากมีสายตาเอียง แสงที่สะท้อนกลับของดวงตาทั้งสองคู่จะตั้งฉากไม่เท่ากัน

 

Subjective Refraction

เป็นการตรวจวัดค่าสายตา โดยอาศัยความร่วมมือของผู้เข้ารับการตรวจในการทดสอบความคมชัดของภาพ ซึ่งมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

  • Monocular Visual Acuity : เป็นการตรวจหาความคมชัดของค่าสายตาทีละข้าง
  • Binocular Visual Acuity : เป็นขั้นตอนหลังจากกระบวนการ Monocular Visual Acuity ซึ่งจะทำการวัดความคมชัด

 

ใครที่ควรเข้ารับการตรวจวัดค่าสายตา?

ใครที่ควรเข้ารับการตรวจสายตา หมออุ๊ยสามารถให้คำตอบได้เลยว่า ทุกคน สามารถเข้ารับการตรวจ เนื่องจากการประเมินค่าสายตาเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้เราทราบปริมาณค่าสายตาแล้ว ยังเป็นการตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการตรวจได้ดังนี้

 

ผู้มีปัญหาด้านสายตา

ผู้มีปัญหาด้านสายตาหรือสงสัยว่ากำลังมีปัญหาด้านการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นภาวะสายตาสั้น สายตายาว รวมทั้งสายตาเอียง หรือมีอาการผิดปกติทางตาอื่น ๆ  เช่น ตาแห้ง ปวดตา อาการตาพร่ามัว หรือมองเห็นไม่ชัดเจน

 

ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจวัดค่าสายตา และตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคทางตา ไม่ว่าจะเป็นโรคต้อต่าง ๆ โรคจอประสาทตาเสื่อม และโรควุ้นในตาเสื่อม เป็นต้น

 

วัยทำงาน

วัยทำงาน เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมใช้สายตาอย่างหนัก โดยเฉพาะกับอาชีพที่ใช้สายตาจ้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควรเข้ารับการตรวจวัดสายตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตาได้ในอนาคต

 

เด็กเล็กและวัยรุ่น

เด็กเล็กและวัยรุ่น สุขภาพของดวงตาความกลุ่มนี้ มีความสำคัญต่อพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของร่างกายเป็นอย่างมาก โดยสามารถแบ่งกลุ่มช่วงวัยของเด็กเล็ก และวัยรุ่นได้ดังนี้

  • เด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) : ควรเข้ารับการตรวจวัดค่าสายตาก่อนเข้าเรียน เพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดเช่น เช่น ภาวะตาเหล่หรือตาขี้เกียจ เป็นต้น
  • วัยรุ่น (อายุ 6-18 ปี) : ควรเข้ารับการตรวจทุก 1 ปี เพื่อตรวจหาภาวะความผิดปกติของค่าสายตา

 

วิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจวัดค่าสายตา

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสายตา เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้การตรวจวัดนั้นได้ประสิทธิภาพ และวัดค่าให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยมีวิธีการเตรียมตัวดังนี้

 

พักผ่อนให้เพียงพอ

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะตาล้า ที่ส่งผลกระทบให้ค่าสายตาเกิดความคลาดเคลื่อน

 

นำแว่นสายตา และคอนแทคเลนส์ที่ใช้อยู่ไปด้วย

นำแว่นสายตาเพื่อการเปรียบเทียบระหว่างค่าสายตาเดิมกับค่าสายตาในปัจจุบัน และหากเป็นผู้สวมใส่คอนแทคเลนส์ ควรถอดออกก่อน 1-3 วัน ก่อนเข้ารับการตรวจวัดสายตา เพื่อให้กระจกตาสามารถคลายตัว และปรับสภาพเข้าสู่สภาวะปกติ

 

พักการใช้สายตาในระยะใกล้

พักการใช้สายตาในระยะใกล้ เพื่อป้องกันสภาวะเลนส์ตาค้าง เช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือ อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจวัดค่าสายตา

 

แจ้งโรคประจำตัวแก่จักษุแพทย์

แจ้งโรคประจำตัว และยารักษาที่รับประทานแก่จักษุแพทย์ เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลต่อดวงตา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน เป็นต้น

 

งดดื่มแอลกอฮอล์

งดดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากเครื่องดื่มนั้นอาจส่งผลต่อการตอบสนองทางสายตา และทำให้ผลการตรวจไม่แม่นยำได้

 

รับการตรวจวัดค่าสายตาเพื่อโลกที่สดใสกับ Dr. Ouise Eye Clinic

เข้ารับการตรวจวัดสายตา อย่างเป็นประจำ เพื่อการมองเห็นโลกที่สดใสดวงตาคู่เดิม ที่ Dr. Ouise Eye Clinic เราให้บริการตรวจสุขภาพตา พร้อมการคัดกรองโรคทางตา ด้วยเครื่องมือที่มีความแม่นยำ พร้อมการให้บริการทำสปาตา และฟื้นฟูความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ลดปัญหาตาแห้ง ตาล้า เพิ่มความสบายตา มองเห็นชัดเจนมากขึ้น

ให้บริการโดยทีมงาน และหมออุ๊ย แพทย์หญิง วชิรา สนธิไชย จักษุแพทย์เฉพาะทาง ด้านการแก้ไขปัญหาสายตาและเลนส์โปรเกรสซีฟ และทีมนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ยาและเครื่องมือทันสมัยมาตรฐานแบบเดียวกับโรงพยาบาล

 

สนใจรับบริการและติดต่อสอบถามได้ที่

  • พิกัด : 28 Phaholyothin 92, Prachathipat, Thanyaburi, Pathumthani 12130
  • Google Map : https://maps.app.goo.gl/SjNLkd8kemdwL2nP8
  • TikTok : https://www.tiktok.com/@dr.ouise.eyes
  • Facebook : Dr.Ouise Eye Clinic
  • อีเมล : drouise.eyes@gmail.com
  • โทร : 090-224-5168

 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy