Eye health สุขภาพตา

Refraction ตรวจวัดสายตา

บริการตรวจวัดสายตา (Refraction) โดยจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ เป็นการตรวจเพื่อหาปัญหาสายตาและค่าสายตาผิดปกติของดวงตาทั้ง 2 ข้าง ไม่ว่าจะเป็น สายตาสั้น สายตายาวแต่กำเนิด สายตายาวตามอายุ และสายตาเอียง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ทำให้มองเห็นไม่คมชัด อาจในระยะใกล้ ระยะกลาง ระยะไกล หรือทุกระยะ ใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก การตรวจวัดสายตาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากทราบค่าสายตาที่ถูกต้องแล้ว ช่วยให้ตัดแว่นได้ตรงตามค่าสายตาจริง หรือเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมให้ค่าสายตากลับมาเป็นปกติ

การเตรียมตัวก่อนวัดสายตา

ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจวัดสายตาควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อที่จะวัดค่าสายตาได้ตรงตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อนเพราะตาล้าหรือปัจจัยอื่น ๆ โดยมีวิธีเตรียมตัว ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ป้องกันภาวะตาล้าที่ทำให้ค่าสายตาคลาดเคลื่อนได้
  • ผู้ที่ใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์สายตาประจำ ควรนำมาด้วย
  • งดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนและในวันที่เข้ารับบริการตรวจวัดสายตา
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ก่อนเข้ารับการตรวจวัดสายตา
  • งดแต่งหน้าหรือแต่งตา เช่น กรีดอายไลเนอร์ ทาอายแชโดว์ ติดขนตาปลอม
  • กรณีที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน และได้รับยาบางชนิดที่อาจมีผลต่อดวงตา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง

วิธีการตรวจวัดสายตา

การตรวจวัดสายตาจะมีความละเอียด ถูกต้องแม่นยำ ด้วยเครื่องมือวัดสายตาที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ผ่านมาตรฐานสากล อย่างเช่น เครื่องวัดสายตา Essilor WAM800 สามารถวัดค่าสายตาได้ละเอียดถึง 0.01 ไดออปเตอร์ ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อให้ตรงตามค่าสายตาจริงของแต่ละบุคคลมากที่สุด รวมถึงดูแลใส่ใจในทุกขั้นตอนโดยจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ

ควรวัดสายตาบ่อยแค่ไหน

  • ผู้ที่มีปัญหาทางสายตา ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง ควรตรวจวัดสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากค่าสายตาอาจเปลี่ยนได้
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดสายตาและสุขภาพตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่แพทย์นัดหมาย เพราะเป็นช่วงวัยที่นอกจากมีปัญหาสายตาแล้ว อาจเสี่ยงเป็นโรคตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ต้อลม จอประสาทตาเสื่อม และวุ้นในตาเสื่อม ได้อีกด้วย
  • เด็กเล็กและเด็กโต โดยเด็กเล็กอายุประมาณ 3-5 ปี ควรตรวจวัดสายตาก่อนเข้าโรงเรียน เพื่อหาภาวะตาขี้เกียจ ตาเหล่ สายตายาวแต่กำเนิด เป็นต้น ส่วนเด็กโตจนถึงวัยรุ่น ควรตรวจวัดสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี เพื่อหาปัญหาทางสายตา
  • ผู้ใหญ่ ช่วงวัยทำงาน ควรตรวจวัดสายตาและสุขภาพตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เริ่มค่าสายตาเปลี่ยนแปลง มีพฤติกรรมใช้สายตามาก เสี่ยงเป็นโรคตาที่เกิดจากการทำงาน เช่น งานที่อยู่หน้าจอคอมเป็นเวลานาน งานก่อสร้าง งานขับรถ

สายตายาวและสายตาสั้นคืออะไร?

สายตายาวและสายตาสั้น คือ ปัญหาสายตาที่พบได้บ่อย ๆ ในปัจจุบัน และมักจะทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันไม่สะดวก ซึ่งทั้ง 2 ปัญหานี้ เกิดมาจากความผิดปกติในการหักเหของแสงภายในดวงตา ส่งผลให้ภาพที่เกิดขึ้นบนจอประสาทตาขาดความชัดเจน และกระทบต่อการมอง โดยแบ่งเป็น


  • สายตายาว : เกิดจากภาพที่เข้าสู่ดวงตาไปโฟกัสที่ด้านหลังของจอประสาทตา ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัดเจน ผู้ที่มีสายตายาวมักจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลชัดเจนกว่า
  • สายตาสั้น : เกิดจากภาพที่เข้าสู่ดวงตาไปโฟกัสที่ด้านหน้าของจอประสาทตา ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน ผู้ที่มีสายตาสั้นมักจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ชัดเจนกว่า


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของสายตายาวและสายตาสั้น

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของสายตายาวและสายตาสั้น ไม่ได้มีที่มาและการเกิดอย่างแน่ชัด แต่ปัจจัยหลาย ๆ อย่างมีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้


  • พันธุกรรม : ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดสายตาสั้นและสายตายาว หากคนในครอบครัวมีประวัติพบปัญหาสายตา ลูกก็อาจจะเจอปัญหาเช่นเดียวกัน
  • การใช้สายตาผิดวิธี : การอ่านหนังสือในที่แสงน้อย การจ้องโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการทำงานที่ต้องใช้สายตาเป็นประจำ พฤติกรรมเหล่านี้ต่างเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาสายตาได้ในอนาคต
  • อายุ : ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการมีปัญหาสายตามากกว่าวัยอื่น ๆ
  • โรคบางชนิด : โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคอื่น ๆ บางชนิด อาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาได้


อาการที่พบบ่อยในผู้ที่มีสายตายาวและสายตาสั้น

อาการที่พบบ่อยในผู้ที่มีสายตายาวและสายตาสั้น แบ่งได้ดังนี้


  • สายตาสั้น
  • ตาพร่ามัวเมื่อต้องใช้สายตามองในระยะไกล
  • ต้องหรี่ตาบ่อย ๆ ดวงตาล้าง่ายกว่าปกติ
  • มีอาการปวดหัว มีปัญหาในเรื่องของการขับรถ
  • สายตายาว
  • ตาพร่ามัวเมื่อต้องใช้สายตามองในระยะใกล้
  • มีอาการปวดหัว ดวงตาล้าง่ายกว่าปกติ
  • มีปัญหาในการอ่านหนังสือ สายตาเพ่งไม่ได้


การวินิจฉัยสายตายาวและสายตาสั้นที่ Dr. OUISE Eye Clinic

คลินิกตา Dr. Ouise Eye Clinic เราใช้เครื่องมือตรวจวัดสายตาอัตโนมัติ ทดลองใส่แว่นจริง พร้อมเลนส์ชนิดพิเศษ ก่อนจะได้รับแว่นจริง โดยนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่แม่นยำและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล นอกจากปัญหาค่าสายตาสั้น สายตายาวแล้ว เรายังมีบริการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคทางตากับจักษุแพทย์ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ต้อหิน ต้อกะรจก ตาเหล่ ตาบอดสี และวุ้นในตาเสื่อม เป็นต้น เพื่อวินิจฉัย รับคำปรึกษา และรักษาได้ทัน


การดูแลและป้องกันสายตายาวและสายตาสั้นเบื้องต้น

การดูแลสุขภาพตาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการชะลอการเสื่อมของสายตาและป้องกันปัญหาสายตาต่าง ๆ รวมถึงสายตายาวและสายตาสั้น การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีสายตาที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


  • พักสายตาเป็นระยะ : ทุก ๆ 20 นาที ให้พักสายตาเป็นเวลา 20 วินาที โดยมองไปยังวัตถุที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต เพื่อลดความเมื่อยล้าของดวงตา
  • เลี่ยงการใช้สายติดต่อกันนาน ๆ : หากต้องทำงานที่ต้องใช้สายตามาก ควรแบ่งเวลาพักสายตาเป็นระยะ ๆ
  • หลีกเลี่ยงแสงจ้า : แสงจ้าที่ส่องเข้าตาโดยตรงอาจทำให้เกิดอาการตาพร่ามัวและระคายเคืองได้
  • รักษาระยะห่างที่เหมาะสม : ควรรักษาระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างตาและวัตถุที่มอง เพื่อลดภาระของดวงตา
  • เลือกแว่นกรองแสงสีฟ้า : สำหรับผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน แว่นกรองแสงสีฟ้าจะช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตาได้
  • ตรวจสายตาเป็นประจำ : ทุก 1-2 ปี ควรพาบุตรหลานไปตรวจสายตาเป็นประจำ เพื่อตรวจหาปัญหาสายตาตั้งแต่เนิ่น ๆ ในผู้ใหญ่ ควรตรวจสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นหากมีอาการผิดปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ : การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ดวงตาได้พักผ่อนและฟื้นฟู

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพตา ได้ที่

โทร : 090-224-5168

Facebook : Dr.Ouise Eye Clinic

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy